หวัดดีค่ะเพื่อนๆ...เมื่อเราเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือปลาที่เลี้ยงเพื่อบริโภค ปัญหาที่เราไม่อยากเจอคือ ปลาเป็นโรค ซึ่งปัจจุบันนี้มีโรคมากมายหลายชนิดที่พบเห็นในปลา แต่วันนี้จะขอคุยกันถึง โรคเห็บปลา
โรคเห็บปลา
- เป็นปรสิตภายนอก เห็บปลามีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
- ลำตัวมีสีเขียวปนเหลือง หรือน้ำตาล ตัวกลมแบน
- ด้านหลังโค้งมน ลำตัวเป็นปล้องเชื่อมติดกัน
- ส่วนของปากจะเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ มีตารวม 2 ตา แต่ระหว่างตารวมมีตาเดี่ยวคั่นระหว่างกลาง
- ระหว่างตาทั้ง 3 จะมีวงขนาดใหญ่ ทำน้าที่เป็นอวัยวะสหรับเกาะตัวปลา
- มีปากอยู่หลังวง
- ท่อทางเดินอาหารสั้น
- มีขา 6 คู่ คู่ที่ 1-4 จะเห็นชัดเจน ขาคู่ที่ 5 และ 6 จะมองไม่ชัด
- ส่วนหางยื่นออกมาแบ่งเป็น 2 แฉก
- อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ที่บริเวณหาง ตัวผู้มีอัณฑะใหญ่ 2 อัน ส่วนตัวเมียมีอวัยวะสำหรับรับน้ำเชื้อ 1 คู่ รังไข่อยู่บริเวณกลางลำตัว
- ไข่ที่ได้รับการผสมพันธู์แล้วจะอยูในท่อนำไข่บริเวณกลางลำตัว
- เห็บปลาจะวางไข่บนก้อนหิน หรือวัตถุแข็งๆในน้ำ ซึ่งไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 9-15 วันตัวอ่อนว่ายน้ำเป็นอิสระประมาณ 20-24 ชม.แล้วจะเข้าเกาะปลา ถ้าไม่สามารถเกาะปลาภายใน 24 ชม.จะตาย เมื่อเกาะปลาแล้ว 3-5 วันจะลอกคราบครั้งแรก ลอกคราบ 6 ครั้งถึงจะโตเต็มวัย
- ตัวเมียวางไข่แล้วจะตาย
- บริเวณที่ถูกเห็บปลาเกาะจะเป็นแผล ทำให้ตกเลือดบริเวณผิวหนังทั่วไปเห็บปลา ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามผิว เหงือก หัว ครีบของปลา กินเซลผิวหนังเป็นอาหาร สามารถย้ายตำแหน่งการเกาะได้ ทำให้ผิวปลาเป็นแผล มักจะเกิดกับปลาที่มีเกล็ด เช่นปลาช่อน ปลาแรด ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน เป็นต้น ปลาที่ติดโรคนี้เป็นเวลานาน ปลาจะว่ายน้ำอย่างกระวนกระวาย โดยถูกับวัสดุ หรือผนังตู้ เห็บปลาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ Argulus
- แยกปลาที่ตาย หรือปลาที่มีเห็บติดออกจากบ่อ พร้อมทั้งแยกปลาจากที่เลี้ยงเดิม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเห็บปลาติดมาด้วย
- กำจัดเห็บปลาด้วยการคีบออก ถ้าเห็บเกาะแน่นให้หยดน้ำเกลือเข้มข้น 1-2 หยดลงบนตัวแล้วคีบออก
- แช่นำยาดิพเพอร์เร็กซ์ 24 ชม. ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร
- แช่ปลาในด่างทับทิม นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงย้ายปลาไปไว้ที่สะอาด
- ปลาที่เลี้ยงในบ่อ ให้ตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น