เพื่อนๆค่ะ คนชอบปลา อยากแนะนำปลาสวยงามที่มีสีสันและลวดลายที่เด่นสวยงาม เรียกเล่นๆว่า เสือร้ายแห่งลุ่มน้ำจืด นั่นคือ เจ้าปลาเสือตอ นั่นเอง
ชื่อ สามัญ Siam Tiger Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coius Microlepis
ปลาเสือตอ พบปลาชนิดนี้ได้ทั่วไปทางประเทศทางแถบร้อน เช่น ไทย อินโดนีเซีย พม่า เขมร ถ้าในประเทศไทยเราพบมากในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง, แม่น้ำน่าน และแถบอิสาน แม่น้ำโขง, แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล
ลักษณะทั่วไป
- มี รูปร่างลำตัวที่เล็กแบนข้าง
- ส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด
- ปากกว้าง และยืดหดได้
- ครีบหลังยาว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน และครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม
- หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กมีหนาม
- ลำตัวสีครีมออกชมพูและสีเหลืองสดใส มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวโตเต็มที่ยาว 16 นิ้ว หนักถึง 7 ก.ก
ลักษณะนิสัย
- เป็นปลาอยู่เป็นฝูงเล็กๆใต้น้ำ โดยอาศัยใกล้ตอไม้ หรือโพรงหินด้วยการลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินตอนกลางคืน อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ ชอบอยู่ตามแหล่งไม้จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือตอ
- สายพันธุ์ ปลาเสือตอในประเทศไทยที่นิยมมีอยู่ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และเสือตอน้ำกร่อยอีก1 สายพันธุ์
ปลาเสือตอที่นิยมและมีราคาสูงที่สุด คือ ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเขมร
การเลี้ยงปลาเสือตอ
- ปลาเสือตอในแหล่งน้ำธรรมชาติจะกินอาหารประเภทสัตว์น้ำทุกชนิด เช่นกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นได้ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้งและหนอนแดง
- ปลาเสือตอ สามารถวางไข่ได้โดยวิธีธรรมชาติ ประมาณเดือนมีนาคม พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนเพศเมียขนาดประมาณ 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 14-17 ชัวโมง อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียล อาหารที่เหมาะกับลูกปลาเสือตอวัยอ่อน ได้แก่ โรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก ต่อจากนั้นใช้ไรแดงเลี้ยงจนลูกปลาขนาดถึง 3ซม. เมื่อโตขึ้นนั้นจึงใช้หนอนแดงหรือลูกปลาเล็กเป็นอาหารต่อไป
โรคและปัญหาของปลาเสือตอ มักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบประจำ คือ
-ฝีตามตัว มีลัษณะเป็นตุ่มตามตัว หรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนัง รักษาโดย ให้แยกปลาที่ป่วยออกมา ใช้ยาปฏิชีวนะ ผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูล ราดบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆ แล้วเทให้ปลากินวันละ 2-3 ครั้ง
-โรคอิ๊ก หรือจุดขาว ให้ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนด สีของปลาเสือตอจะแสดงถึงความสมบูรณ์ของปลา หากไม่สบายหรือป่วยสีของปลาจะแสดงให้เห็น ถ้าตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ
ถ้าลักษณะที่สมบูรณ์ ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่
เพื่อนค่ะ คนชอบปลา อยากจะชวนเพื่อนๆเลี้ยง เจ้าเสือตอ เพิ่มในตู้ปลาอีกชนิด แล้วเพื่อนๆจะรู้สึกชอบและหลงรัก ถึงความเท่ห์ของเจ้าเสือร้ายแห่งลุ่มน้ำจืด....เชื่อมั้ยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น