เพื่อนๆค่ะคนชอบปลาเคยแนะนำเพื่อนๆ ถึงการเพาะพันธุ์ปลาทองริวกิ้นไปแล้ว วันนี้คนชอบปลาอยากจะแนะนำถึงปลาทองรันชู ที่มีลักษณะที่ดีตรงตามมาตราฐานสากลให้เพื่อนๆทราบค่ะ
การเลือกลักษณะเด่นของปลารันชู ซึ่งจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
ดูรูปทรงและความสมดุล
- -การดูรูปทรงและความสมดุลของปลา ต้องดูให้ถึงลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบในสรีระต่างๆของปลารันชู ซึ่งเมื่อมองจากด้านบนในขณะที่ปลากำลังแหวกว่ายนั้น ให้เริ่มพิจารณาจากส่วนหัว ลำตัวและหาง แล้วก็มาพิจารณาโดยรวมอีกครั้ง ว่าปลามีลักษณะการว่ายน้ำที่สมดุลดีหรือไม่
ความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา
- - จะต้องมองที่ความกว้างของลำตัวและต้องสังเกตโคนหางร่วมไปด้วย ว่าลักษณะตัวปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วน ก็ต้องมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรงสมดุลกับตัวปลา ซึ่งเมื่อมองจากมุมด้านบนต้องสังเกตจากความกว้าง ของลำตัวซึ่งจะต้องมีความอ้วนหนา บึกบึนได้รูปและมีคนหางที่ใหญ่แข็งแรง
การเรียงแถวของเกล็ดและความสวยงามของสีสันลวดลาย
- - การเรียงแถวของเกล็ดนั้นควรมีลักษณะ การเรียงเป็นแนวเดียวกันไม่กระจัดกระจายออกจากแถว เมื่อมองดูแล้วความเป็นระเบียบเรียบร้อยเนียนตา ในส่วนของสีสันบนตัวปลาจะเป็นสีที่สดเข้มมองดูแล้วสะดุดตา ไม่ว่าจะเ็ป็นสีแดงหรือสีขาว ในส่วนของลวดลายที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นมุมมองส่วนตัว ซึ่งต้องใช้ศิลปะและประสบการณ์เข้ามาประกอบด้วยส่วนหนึ่ง
ปลาที่มีสง่าราศี
- - จะต้องใช้ประสบการณ์และชำนาญซึ่งเกิดจาการดูและสัมผัสปลามาพอสมควร จึงจะบอกได้ว่าปลาตัวใดมีลักษณะเด่นหรือดูมีสง่างามกว่าอีกตัว ซึ่งการดูจะอาศัยการมองถึงลักษณะโดยรวมของปลาทั้งส่วนหัว ลำตัวและหาง ซึ่งปลารันชูบางตัวอาจจะมีครีบหางไม่สวยหรือครีบคด บางตัวสีอาจจะไม่สด แต่อาศัยเกณฑ์การมองโดยรวมๆ
การว่ายน้ำของปลารันชู
- - มีการเปรียบเปรยกันว่า " ปลารันชูนั้นมีลีลาในการแหวกว่ายน้ำพริ้วไหว ดังชายกิมิโนของสาวญี่ปุ่นยามโบกสะบัด " หมายถึง ในส่วนของช่วงโคนหางหรือที่เรียกว่าสะโพกของปลา ในตอนที่ว่ายน้ำนั้นดูสวยงาม ดูปราดเปรียวและมีชีวิตชีวา
การกล่าวมานี้เป็นเทคนิคในการคัดเลือกปลารันชูที่มีลักษณะที่ดี รวมถึงเวลาที่มีการประกวดแข่งขันปลารันชู คณะกรรมการก็จะใช้หลักเกณฑ์นี้ในการตัดสิน
เพื่อนๆค่ะ เป็นไงบ้างค่ะ เทคนิคในการคัดเลือกปลารันชูให้มีลักษณะที่ดีตามหลักเกณฑ์ที่นิยม แต่ถ้าจะให้ดี คนชอบปลา คิดว่าทุกอย่างมันต้องใช้ประสบการณ์ และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนๆเห็นด้วยมั้ยค่ะ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น