" ปลาไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ " เพื่อนๆค่ะ สำนวนนี้ใช้ได้ทั้งคนและปลานะค่ะ คงจะไม่มีใครต้องการให้ปลาที่เลี้ยงเป็นโรค คนชอบปลาจะแนะนำเพื่อนๆให้รู้จักกับโรคของปลาโรคหนึ่ง ได้แก่ " พยาธิเห็บระฆัง "
พยาธิเห็บระฆัง เป็นโปรโตชัว Trichodina ซึ่งจัดอยู่ในชั้นซีเลียต้า เรียกทั่วไปว่า " เห็บระฆัง "
- มีสักษณะ รูปร่างคล้ายระฆังหรือถ้วยคว่ำเมื่อมองจากด้านข้าง ถ้ามองด้านบนจะเห็นเป็นวงกลม
- มีขนาดประมาณ 40-70 ไมครอน
- มีขนล้อมรอบตัวเป็นวงเกินกว่า 1 รอบแต่ไม่เกิน 2 รอบ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหว
- มีอวัยวะสำหรับเกาะมีลักษณะคล้ายขอ ปลายด้านนอกแบนคล้ายใบมีด ตรงกลางนูน ด้านในแหลมและเรียงซ้อนกันเป็นวง ซึ่งจะทำให้เกาะปลาแน่นขึ้น
- สืบพันธุ์โดยการแบ่งตัว
อาการของปลาที่ถูกเห็บระฆังเกาะ
- จะทำให้ผิวหนังเกิดแผล ปลาจะขับเมือกออกมามาก ผิวหนังจะเป็นดวงขาวๆ
- ถ้าเกาะปลาที่มีเกล็ด จะทำให้เกล็ดปลาหลุดและเกิดแผล
- ถ้าเกาะตามครีบ จะทำให้ครีบขาดกร่อน
- ถ้าเกาะเหงือก จะทำให้เหงือกบวมหรือเป็นแผลและขาดกร่อน
การป้องกันรักษา
- การป้องกันหน้าจะดีกว่าการรักษา เพราะปรสิตชนิดนี้แพร่ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาสั้นๆ การป้องกันทำได้โดยการตรวจปลาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจแน่ใจแล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง
การรักษา ถ้าเกิดเป็นโรคให้ ให้กำจัดได้โดยการใช้ยาหรือสารเคมี คือ
- ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตรนาน 24 ชม.
เพื่อนๆค่ะ ไม่ยากเลยนะค่ะ กับการขจัดเจ้าวายร้ายที่รบกวนปลาสวยงามของเรา ถ้าเพื่อนๆรู้และเข้าใจขั้นตอนวิธีการรักษา คนชอบปลารับรองได้เลยว่าเจ้าพยาธิเห็บระฆังไม่รอดน้ำมือเราแน่ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น