-

วันเสาร์

ปลาการ์ตูน เพาะเลี้ยงได้ไม่ยาก



เพื่อนๆค่ะ ปลาการ์ตูน เป็นปลาทะเลที่มีสีสันและลวดลายที่น่ารัก สวยงาม สะดุดตา มีลักษณะการว่ายน้ำที่แตกต่างจากปลาชนิดอื่น คนชอบปลา อยากแนะนำเพื่อนๆ ให้เพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน







  • การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน นั้นสามารถที่จะผสมพันธุ์วางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด โดยเริ่มจาก


- การจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะให้ผสมวางไข่


- ปลาการ์ตูนไม่สามารถบอกเพศได้จากลักษณะภายนอก  และปลาการ์ตูนสามารถเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของปลาการ์ตูนจะถูกกำหนดด้วยโครงสร้างทางสังคม เมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียไม่สามารถกลับมาเป็นเพศผู้ได้อีก


- สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ปลาจากธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า

- นำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่ขนาดของตู้เลี้ยง เมื่อปลาเริ่มจับคู่จะสังเกตว่าปลาทั้งสองจะแยกตัวออกจากฝูง และหวงอาณาเขต ให้แยกปลาคู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับพ่อ-แม่พันธุ์


  • การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์


- ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับพ่อแม่ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่


- อาหารที่ใช้เีลี้ยงพ่อ- แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารที่มีคุณภาพดี เช่น เนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกันไป ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้อาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ทุก 2 อาทิตย์



  • การผสมพันธุ์วางไข่


- ถ้ามีการดูแลที่เหมาะสม ปลาก็จะผสมพันธุ์วางไข่ โดยปลาเพศผู้จะเริ่มทำความสะอาดพื้นที่ใช้วางไข่ ตัวเมียจะเข้ามาช่วยบ้าง และเมื่อใกล้วางไข่ส่วนท้องตัวเมียจะขยายออก เมื่อถึงวันที่จะวางไข่จะสังเกตุ ท่อนำไข่ยื่นออกมาจากส่วนท้องของตัวเมีย ปลาจะวางไข่ติดกับพื้นที่ที่ทำความสะอาดไว้เป็นวงค่อนข้งกลม ไข่มีประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีจำนวนสูงถึง 1,600 ฟอง(ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด) หลังจากวางไข่แล้ว ปลาคู่นั้นจะวางไข่ต่อเนื่องทุก 2 สัปดา์ห์ ตลอดทั้งปีโดยไม่มีการหยูดวางไข่ ยกเว้นถ้าถูกรบกวน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม


  • การดูแลและการฟักไข่

- พ่อ-แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ส่วนใหญ่ตัวผู้จะทำหน้าที่นี้ ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าช่วงอากาศหนาว 8-9 วัน หรืออากาศร้อนใช้เวลา 6 วัน การนำไข่ออกมาฟักข้างนอกสามารถทำได้แต่จะไม่ได้ผลดีเท่ากับให้พ่อ-แม่ปลาฟักเอง การสังเกตว่าลุกปลาจะฟักไ้ด้จากปลาของลูกปลา ที่อยู่ในถุงจะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง แสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงค่ำ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากมืดสนิท



  • การอนุบาลลูกปลา

- หลังจากลูกปลาฟักเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกเล็กความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายขนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหาร ในระยะ 2-3 วันแรก อาจใชวิธีเพิ่มน้ำในตู้อนุบาล หลังจากนั้นจึงดูดตะกอนเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน วันละ 20-50 เปอร์เซ็นต์ ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนพ่อ-แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นก้นตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตราการรอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-25 เปอร์เซนต์ และลูกปลาจะมีขนาดประมาณ 8-10 มิลลิเมตร


  • การเลี้ยงดูปลาการ์ตูน


- เมื่อพ้นระยะการอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่ขึ้น ความหนาแน่นประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลาย หรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะใช้อาหารที่ผสมขึ้นเองโดยค่อยๆลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในตู้ หรือภายนอกตู้ และมีการทำความสะอาดและเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะ เช่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20 เปอร์เซนต์ ทุก 2 สัปดาห์




สิ่งที่ต้องระมัดระัวังมากในการเลี้ยงปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยง หรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium ocellatum เมื่อเกิดลุกปลาจะตายหมด ดังนั้นต้องดูแลรัษษความสะอาด และคุณภาพน้ำเป็นสำคัญ การจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 8-12 เดือน



เพื่อนๆค่ะ ถ้าคิดจะเริ่มเลี้ยงปลาการ์ตูนอย่างจริงจัง อยากให้เพื่อนๆศึกษาให้ดีนะค่ะ เพราะปลาการ์ตูนมีอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อนอยู่ คนชอบปลา เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ นะค่ะ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม